วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เนื้อเพลง ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ - Oogoe Diamond BNK48

เนื้อเพลง ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ - Oogoe Diamond BNK48 

วิ่งตามรถคันนึง ที่กำลังได้เวลา
บอกเธอให้ไวไว บอกตัวเองไหวรวบรวมความกล้า
ต้องทำตอนนี้ สิ่งที่สำคัญมันอยู่ตรงหน้า
ให้ฉันทำให้เธอได้ลบ ลบเรื่องที่มันคาใจ

บอกให้เธอรู้ชัดๆได้ไหม ทั้งที่มันก็พูดง่ายๆแค่นี้
อย่ามัวลังเล ปล่อยมันผ่านไป แล้วก็เหมือนเดิมทุกที ทุกที
ต้องเชื่อในตัวของฉัน ต้องซื่อสัตย์เท่านั้น
แรงกระตุ้นของฉัน พูดกับเธอบอกเธอตรงนี้

ไดสุกิดะ คิมิ กะ ไดสุกิดะ (daisuki da kimi ga daisuki da)
จะรออะไร ออกวิ่งตามไปสิ ไปสิ
ไดสุกิดะ ซุตโตะ ไดสุกิดะ (daisuki da zutto daisuki da)
ตะโกน ตะโกน สุดเสียงไปเท่าที่มี
ไดสุกิดะ คิมิ กะ ไดสุกิดะ (daisuki da kimi ga daisuki da)
จะเป็นจะตาย ปวดหัวกวนใจทุกที
แต่จะไม่ยอม ไม่ยอมแพ้หรอก
โอโอโกเอะ ได-ยา-มอ-อึน-โดะ (Oogoe DAI-YA-MO-N-DO)

ช่วงเวลาที่เคยมี อาจจะเหงาไม่มีใคร
ก็ใจไม่รู้เป็นไง ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวอยู่ได้
ต้องทำตอนนี้ เปลี่ยนความคิดให้มันเป็นคำพูด
เผื่อว่าเธอจะได้ยินเสียงสักที อยู่ในหัวใจ

ตั้งแต่เมื่อกี้ ทำไมไม่รู้ ฉันก็ยังคงคอยจ้องมองบนฟ้า
แล้วน้ำใส ๆ ก็รินออกมา
เหมือนว่าน้ำตาไม่หยุดสักที
รักที่มีอยู่ในใจของฉัน โลกที่มีคนนับล้าน
มอบให้เธอเท่านั้น เพียงหนึ่งคนบนโลกใบนี้

เซตไต นิ คิมิ โอะ เซตไต นิ (zettai ni kimi o zettai ni)
ที่ฉันจะยอม ปล่อยให้เธอไป ไม่มี
เซตไต นิ จิกาอุ เซตไต นิ  (zettai ni chikau o zettai ni)
จะเอายังไง เราก็ได้เจอกันสักที
เซตไต นิ คิมิ โอะ เซตไต นิ (zettai ni kimi o zettai ni)
ให้เธอมีความสุข และมีวันที่ดี
อยากให้เธอ ให้เธอได้รับฟัง
โอโอโกเอะ ได-ยา-มอ-อึน-โดะ (Oogoe DAI-YA-MO-N-DO)

รออะไรเถอะ รออะไรอยู่
ถ้าลังเลก็ไม่ได้เริ่มกันสักอย่าง
พูดออกมาสิ พูดออกมาสิ
พูดตรงๆ ก็เธอจะได้ตาสว่าง
เสียงที่ส่ง แสงจะส่อง สาดมาให้ฉันเดินตามทาง

ไดสุกิดะ คิมิ กะ ไดสุกิดะ (daisuki da kimi ga daisuki da)
จะรออะไร ออกวิ่งตามไปสิ ไปสิ
ไดสุกิดะ ซุตโตะ ไดสุกิดะ (daisuki da zutto daisuki da)
ตะโกน ตะโกน สุดเสียงไปเท่าที่มี
ไดสุกิดะ คิมิ กะ ไดสุกิดะ (daisuki da kimi ga daisuki da)
ยังไง ยังไง ช่วยรับความรักฉันสักที
ไดสุกิดะ ซุตโตะ ไดสุกิดะ (daisuki da zutto daisuki da)
ตะโกน ตะโกน ฝากสายลมช่วยบอกเค้าที
ไดสุกิดะ คิมิ กะ ไดสุกิดะ (daisuki da kimi ga daisuki da)
จะเป็นจะตาย ปวดหัวกวนใจทุกที
แต่จะไม่ยอม ไม่ยอมแพ้หรอก
โอโอโกเอะ ได-ยา-มอ-อึน-โดะ (Oogoe DAI-YA-MO-N-DO)

ได้โปรดเถิดนะจงบอก ออกไปซะ
จะอาย จะอายทำไมมันไม่ช่วยหรอก
บอก บอก จงบอก จงบอกไปซะ
ก็ชอบ ให้รู้ว่าชอบเลยดีกว่า
ก็ชอบ ให้รู้ว่าชอบไปเลยนะ
ก็ชอบ ให้รู้ว่าชอบเลยดีกว่า

พูดออกมาสิ พูดออกมาสิ
พูดตรงๆ ก็เธอจะได้ตาสว่าง

-----------------------------
*ท่อนวงเล็บคือท่อนที่คงเนื้อญี่ปุ่นของเพลงต้นฉบับไว้ครับ
*ท่อนไหนผิดก็คอมเม้นบอกกันได้นะครับ
*ท่านไหนนำไปทำซับต่อก็เครดิตกลับมาที่บล็อคให้นิดนึงนะ ขอบคุณครับ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คาบเรียนญี่ปุ่นวันนี้

นั่งเรียนอยู่ มานะเซนเซย์ก็เดินมา

มานะซซ : หนึ่งซัง ขอดูแฟ้มหน่อยจิ๊~ ได้มั้ย
หนึ่งซัง : เอาเลยคับ เชิญเลย
มานะซซ : อ๊าาา คนนี้ รู้จักๆๆ มัตซึอิ ..... (กำลังนึกชื่อ)
หนึ่งซัง : มัตซึอิ จูรินะครับ
มานะซซ : ใช่ๆๆๆ มัตซึอิ จูรินะซัง อยู่ เอ็นเอมบีใช่มั้ย
หนึ่งซัง : ..... (สตั้น) ไม่ช่ายยยยยยยย นาโกย่าครับ
มานะซซ : อ๊าาาา ใช่ใช่ เอสเคอี48 สินะ น่ารักจังเลยเน๊อะ......
(แล้วนางก็เดินจากไป) (เอาวะอย่างน้อยบอกนาโกย่าก็รู้จัก ske เน๊อะ )

จบ
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า มัตซึอิซัง ที่อยู่ เอ็นเอ็มบี น่ารักนะ


วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คู่มือ Wotagei สำหรับคอนเสิร์ต AKB48 และ BNK48 ฉบับภาษาไทย

Original : http://melosnomichi.blogspot.com/2012/01/wotagei-guide-for-akb48-concerts-20.html

สืบเนื่องมาจากได้เข้าไปอ่าน เวป Melos มาก็พบว่าบทความนี้น่าสนใจ จึงอยากเอามาสรุป และแชร์ให้คนอื่นๆได้รู้จักกันต่อไปในรูปแบบภาษาไทย ไม่อยากเรียกว่าแปล เพราะผมอาจจะสรุปรวบยอดและเพิ่มรายละเอียดเองหรือตัดบางส่วนนิดหน่อย แต่โดยพื้นฐานแล้ว จะขออิงหัวข้อและตัวอย่างเบื้องต้นจากเวป Melos ฮะ

-----
รายละเอียดการอัพเดท
V.1 - เพิ่ม Mix พื้นฐานของ AKB48 ทั้งหมด
V2 - เพิ่มการ Mix ของ Team 8  (2016)
------

แล้ว entry นี้มันเกี่ยวกับอะไรหละ !!

เวลาดูคอนเสิร์ต AKB , 48 Group รวมไปถึงล่าสุดอย่าง BNK48 เคยมีคำถามพวกนี้ในหัวไหมว่า "พวกมันตะโกนอะไรกันฟร่ะ!!!" ถ้าเคยมี คุณมาถูกทางแล้ว.......


ก็ต้องเกริ่นต่อว่า สำหรับแฟนๆ 48 ที่พึ่งเข้ามาติดตามนั้น เคยสงสัยกันไหมหว่า เหล่า wota หรือแฟนๆที่เข้าไปชมคอนเสิร์ต หรือการแสดงในโรงละครก็ตาม เวลาที่น้องๆเล่นเพลงแต่ละเพลง เล่า wota หรือแฟนทั้งหลาย จะมีการตะโกน(อย่างบ้าคลั่ง) เป็นจังหวะโดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่งแน่นอนครับ มันไม่ได้เป็นความบังเอิญ แต่ต้องมีระเบียบแผนอยู่แน่นอน ว่าเขาตะโกนอะไรกัน อยากรู้กันไหมหละครับ?.......

ถ้าท่านกำลังจะก้าวเข้าสู่อีกขั้นของ(ความบ้า)น้องๆ ก็อ่านต่อด้านล่างนะฮะ แน่นอนถ้าใครไม่ต้องการ ก็จงปิดหน้านี่ไปเถอะนะ(ก่อนจะบ้าไปกว่านี้)

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่กฏระเบียบในการไปชมการแสดงของน้องๆ 48 ฮะ และก็ไม่ได้บังคับว่าทุกคนจะต้องตะโกนได้พูดได้ หากไม่สนใจ ก็ไม่ต้องใส่ใจมันฮะ  .... ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลยนะครับ

1.0 Wotagei มันคืออะไร แล้วทำไปทำไม?

ถ้าคุณเคยชมการแสดงคอนเสิร์ตของไอดอลต่างๆมาก่อน คุณคงเคยเห็นการร้องตะโกนเชียร์ หรือแม้แต่ท่าเต้นต่างๆของผู้ชม นั้นหละครับ เราเรียกมันว่า Wotagei (ヲタ芸)

 Wotagei ถ้าแปลตามคำศัพท์เลยจะหมายถึง "ศิลปะของแฟนไอดอล" (บางทีก็เรียกศิลปะของโอตาคุ) ซึ่งมีทั้งการเต้นด้วยท่าทางต่างๆ ไม่ว่าจะกระโดด สบัดแขน แกว่งแขน หรือแม้แต่การ ตะโกนเชียร์ด้วยคำพูดต่างๆ(หรือที่บางคนเรียกบทสวดประจำวง) ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละวงก็อาจจะใช้ท่าทางหรือการตะโกนที่ไม่เหมือนกัน ในทีนี้จะขอพูดถึงเฉพาะที่ใช้ในคอนเสิร์ตของ AKB48 นะครับ

Wotagei ของ AKB48 นั้นค่อนข้างจำกัด เพราะจะมีแค่การตะโกนเชียร์ และใช้แขนโบกด้วยท่าทางต่างๆเท่านั้น เนื่องมาจากขนาดโรงละครของAKBมีพื้นที่จำกัด รวมไปถึงเวลาไปชมการแสดงที่โรงละครAKBเนี่ยจะเป็นแบบให้นั่งเก้าอี้ชมการแสดง ซึ่งแน่นอนว่า คุณก็ไม่สามารถที่เต้นแร้งเต้นกาอะไรได้มาก จริงไหมครับ?

สำหรับในประเทศญี่ปุ่นนั้น เขาว่ากันว่า การที่แฟนๆที่ไปชมคอนเสิร์ตแล้วมีส่วนร่วมกับการแสดงด้วยเนี่ย เป็นเรื่องที่สำคัญครับ เพราะถือว่าช่วยเพิ่มความสนุกสนานตื่นเต้นในคอนเสิร์ต ทำให้น้องๆที่แสดงอยู่บนเวทีได้รับรู้ถึงพลังที่เหล่าแฟนๆส่งให้ และรวมไปถึงความสามัคคีของเหล่าแฟนคลับเองด้วย

เอาหล่ะ นี่แค่เกริ่นนำครับ เรามาเริ่มทำความรู้จักกันไปทีละรูปแบบนะครับ

2.0 การ Mix (The Mixes)

การ Mix เป็นอะไรที่ทุกคนน่าจะได้เห็นกันบ่อยสุดของคอนเสิร์ต AKB48 หละครับ เพราะมันก็คือการตะโกนของแฟนๆ เวลาเพลงเริ่มเพลงและในระหว่างเพลงนั้นเอง โดยการ Mix เนี่ยก็มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ ปกติจะใช้กันเฉพาะกับเพลงเร็ว ที่มีจังหวะสนุกครับ เพลงช้าๆ เศร้าๆ เรามักจะไม่ยิง Mix กันเท่าไร

การ Mix เราจะใช้ในจังหวะที่ไม่มีเสียงร้องครับ (แต่ก็มีบางเพลงยกเว้น ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อถัดไป) ตัวอย่างท่อนไม่มีเสียงร้องเช่น ท่อน Intro ของเพลง , ท่อนที่จบในแต่ละวรรคของเพลง , หลังท่อนฮุคเพื่อเตรียมเข้าท่อนต่อไป เป็นต้น

สำหรับที่มาของ Mix ว่าทำไมต้องเป็นคำพวกนี้ ผมก็ทราบเพียงว่า Mix นี้ไม่ได้ถูกตั้งขึ้นมาโดย AKB นะครับแต่เป็น Mix ของเหล่า wota มาก่อนที่วง AKB จะตั้งเสียอีก และ คำที่ใช้ในการ Mix นั้นไม่ได้เกี่ยวหรือสัมพันธ์อะไรกับเนื้อเพลงครับ เราสามารถใช้ Mix นี้ได้กับทุกๆเพลง ไม่ได้ยึดว่าเพลงนี้ต้อง Mix ไหน (แค่เลือกชนิดของ mix ให้เข้ากับจังหวะเพลงก็พอครับ)
หลักๆ ในการ Mix มีอยู่ 3 Pattern หลักๆ และ สามารถนำทั้ง 3 pattern มาผสมกันได้ ดังต่อไปนี้

2.1 The Standard Mix (1st Mix)

Aaaa あ~ (ภาษาไทย : อ๋าา ~ ย้ดช่า อิคุโซ่ ไทก้า ไฟย้า ไซบ้า ไฟบ้า ไดบ้า ไบบ้า จ้า จ้า )

สำหรับ Mix แรกเป็น Mix ที่ใช้เยอะที่สุดในเพลงของ AKB จะใช้ในช่วง Intro ตอนต้นเพลง และตะโกนจบก่อนที่เนื้อเพลงท่อนแรกจะเริ่ม

Mix แรกจะเริ่มที่  "Aaaa Yossha Ikuzo!" มีความหมายว่า "เอ้าหละ! พวกเรา เริ่มกันเถอะ!!!!" หรือ "ลุยเลย" อะไรประมาณนี้ ซึ่งท่อนนี้ยังเป็นเหมือนสัญญาณเพื่อบอกคนอื่นๆว่า กำลังจะเริ่มต้น Mix อีกด้วย ถัดจากนั้นก็ไล่ mix ไปตามลำดับ จนถึง "จ้าจ้า"

สาเหตุที่บอกว่า Mix นี้ถูกใช้มากที่สุดเพราะ Mix นี้จะต้องเป็น Mix แรกเสมอในแต่ละเพลง (คือเอ๊ะอ๊ะคิดอะไรไม่ได้ออก ให้ใช้ Mix นี้ไปก่อน เซฟครับ)

ลำดับของการใช้ Mix นั้นก็จะไล่จาก
Standard (1st) -> Japanese (2nd) -> Ainu (3rd)
ซึ่งอีกสองแบบ จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
Yossha Ikuzo!よっしゃいくぞー!
Tiger (Taiga) タイガー
Fire (Faiya) ファイヤー
Cyber (Saiba) サイバー
Fiber (Faiba) ファイバー
Diver (Daiba) ダイバー
Viber (Baiba) バイバー
Jya Jya! ジャージャー!
ปล. ไวเบอร์ คนญี่ปุ่นจะออกเสียงเป็น ไบบ้า ครับ เพราะว่า เสียงญี่ปุ่นไม่มีตัว วี นะจ๊ะ

ตัวอย่างการใช้ Standard Mix หรือ 1st mix ดูได้จากตัวอย่างเพลง Oogoe diamond ครับ ซึ่งจะเริ่ม Mix ตอน 0.06 ของวิดิโอ


ลองตะโกนตามดูนะครับ 
"อ๋าา ~ ย้ดช่า อิคุโซ่ ไทก้า ไฟย้า ไซบ้า ไฟบ้า ไดบ้า ไบบ้า จ้า จ้า"

2.2 The Japanese Mix (2st Mix)

Aaaa あ~(ภาษาไทย : อ๋าา ~ ม้ดโซ่ อิคุโซ่ โทระ ฮิ จินโซ เซนิ อามะ ชินโดคาเซนโทบิโจเคียว )

Mix ที่สอง จะนิยมใช้ในช่วง intro 2 ของเพลง ว่ากันง่ายๆก็คือจังหวะที่จบท่อนฮุคครั้งแรกก่อนที่จะขึ้นท่อนต่อไปนั่นเอง

สำหรับคำเริ่มต้นของ Mix 2 จะต่างจาก Mix ที่ 1 เล็กน้อยครับ เปลี่ยนเป็น "Mou Iccho Ikuzo!" หมายความว่า "เอ้า! พวกเรา เริ่มกันอีกรอบเถอะ"

สำหรับคำอื่นๆ ถ้าสังเกตุดีๆมันก็คือ ศัพท์ภาษาญี่ปุ่นของ Mix ที่ 1 นั้นหละครับ อย่าง Tiger = Tora ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเอง ก็ให้ Mix ไปตามปกติ จนถึงท่อนสุดท้ายจะรวบจังหวะ ตั้งแต่ ชินโด และต่อด้วย คาเซนโทบิโจเคียว เลย
Mou Iccho Ikuzo!もういっちょいくぞー!
Tora
Hii
Jinzou 人造
Seni 繊維
Ama 海女
Shindou 振動
Kasen-tobi-jokyo! 化繊飛除去!


ตัวอย่างการใช้ Japanese Mix หรือ 2st mix ดูได้จากตัวอย่างเพลง Oogoe Diamond ครับ ซึ่งจะเริ่ม Mix 2 ตอน 8.40 ของวิดิโอ (หรือจะดูตั้งแต่ Mix 1 ก็ได้ ตั้งแต่นาทีที่ 7.20 ครับ)

ลองตะโกนตามดูนะครับ
( อ๋าา ~ ม้ดโซ่ อิคุโซ่ โทระ ฮิ จินโซ เซนิ อามะ ชินโดคาเซนโทบิโจเคียว )


2.3 The Ainu Mix (3st Mix)

Aaaa あ~ (ภาษาไทย : อ๋าา ~ ม้ดโซ่ อิคุโซ่ ชาเปะ อะเปะ คาระ คิระ ราระ ทูซุเคะ เมียว ฮนทูซุเคะ)

Mix ที่สามสุดท้าย เป็น Mix ที่จะใช้เฉพาะบางเพลงเท่านั้น เช่นเพลงที่มี Introที่3 ใน overture หรือในการผสม Mix เป็นต้น

Mou Iccho Ikuzo!もういっちょいくぞー!
Chapeチャペ
Apeアペ
Karaカラ
Kira (Kina)キラ (キナ)
Raraララ
Tusukeトゥスケ動
Myohontusuke! ミョーホントゥスケ!

ตัวอย่างการใช้ Ainu Mix ดูต้วอย่างจากเพลง Shonichi นาทีที่ 4.50 ในวิดิโอครับ

ลองตะโกนตามดูนะครับ
(ชาเปะ อะเปะ คาระ คิระ ราระ ทูซุเคะ เมียว ฮนทูซุเคะ)

จบกันไปสาม Mix เบื้องต้นแล้ว เป็นยังไงครับ ยากไหมเอ่ย?
ทีนี้มันยังไม่จบแค่นี้หนะสิ เพราะดันมีบางเพลง ที่จังหวะมันดันไม่ลงล็อคกับ Mix ทั้งสามตัว
เขาก็มีทางแก้ครับ ด้วยการจับ Mix ที่มีนี้หละ มาผสมกัน จนเกิด Mix ลูกผสมดังต่อไปนี้ครับ

2.4 2-ren MIX (1-2 Mix)

Aaaa Yossha Ikuzo! Tiger Fire Cyber  Fiber Diver Viber Jya Jya!
  Tora Hii Jinzou Seni Ama Shindou Kasen-tobi-jyokyo!
あ~ よっしゃいくぞー タイガー ファイヤー サイバー ファイバー ダイバー バイバー ジャージャー!
  虎 火 人造 繊維 海女 振動 化繊飛除去!
2-ren Mix จะถูกใช้ในเพลงที่มี Intro ตอนต้นที่ยาวกว่าปกติ  2-ren Mix เป็น Mix ที่เกิดจากการผสมกันของ 1 และ 2 โดยจะขึ้นด้วย Mix 1 ก่อน พอถึงท่อน "จ้า จ้า" ก็จะต่อด้วย "โทระ ฮิ ...." ของ Mix 2 ต่อเลย
ตัวอย่างการใช้ 2-ren MIX ดูได้จากเพลง Kimi no koto ga sukidakara นาทีที่ 0.10 ครับ


2.5 3-ren MIX (1-2-3 MIX)

Aaaa Yossha Ikuzo! Tiger Fire Cyber  Fiber Diver Viber Jya Jya!
  Tora Hii Jinzou Seni Ama Shindou Kasen-tobi-jyokyo!
    Chape Ape Kara Kira Rara Tusuke Myohontusuke!
あ~ よっしゃいくぞー タイガー ファイヤー サイバー ファイバー ダイバー バイバー ジャージャー!
  虎 火 人造 繊維 海女 振動 化繊飛除去!
    チャペ アペ カラ キラ(キナ) ララ トゥスケ ミョーホントゥスケ!
3-ren MIX ตามชื่อเลยก็คือเอา Mix ทั้งสามชนิดมารวมกันครับ Mix ชนิดนี้ยังคงใช้บ้างในบางเพลงแต่น้อยมาก แต่ที่ Mix นี้ยังมีอยู่ก็เพราะว่าเราใช้ Mix นี้ในเพลง Overtune ก่อนการแสดงของ AKB เริ่มทุกครั้งครับ

 
ตัวอย่างการใช้งาน 3-ren MIX ดูได้จาก Overture ครับ

2.6 1.5-ren MIX / 2.5-ren MIX (1-2-1 MIX)

Aaaa Yossha Ikuzo! Tiger Fire Cyber  Fiber Diver Viber Jya Jya!
  Tora Hii Jinzou Seni
    Aaaa Yossha Ikuzo! Tiger Fire Cyber  Fiber Diver Viber Jya Jya!
あ~ よっしゃいくぞー タイガー ファイヤー サイバー ファイバー ダイバー バイバー ジャージャー!
  虎 火 人造 繊維
    あ~ よっしゃいくぞー タイガー ファイヤー サイバー ファイバー ダイバー バイバー ジャージャー!

เพราะว่า Ainu MIX ไม่ค่อยนิยมใช้กัน และบางเพลงบางจังหวะ มันใช้ 1-2 Mix ไม่พอ จึงเกิด Mix ในรูปที่นิยมอีกรูปนึงขึ้นมา ก็คือ 1.5 Mix หรือ 1-2-1 Mix นั่นเอง

Mix รูปแบบบนี้เริ่มต้นด้วย Standard Mix หลังจากนั้นตามด้วย Japanese Mix แต่หลังจากคำว่า "เซนิ" แทนที่จะพูด "อามะ" ให้เปลี่ยนเป็นขึ้น Standard Mix อีกครั้ง ตั้งแต่ "ย้ดช่า อิคุโซ่ว" จนจบ

ปัจจุบันมีหลายเพลงที่ใช้ Mix ประเภทนี้ เช่น Everyday kachucha , First Rabbit , etc

สามารถดูตัวอย่างการใช้ 1.5 Mix ได้จากวิดิโอ นาทีที่ 0.17

หรืออีกตัวอย่างนึงที่ดีคือเพลง Everyday kashucha (เวอร์ชั่นโอตะแท้ๆ ในห้องคาราโอเกะ)

2.7 Mix ของทีม 8

ทีม 8 เป็นทีมน้องใหม่ของตระกูล 48 ที่จัดตั้งมาด้วยวิธีพิเศษโดยการคัดเลือกเด็กจากแต่ละจังหวัด มารวมตัวกันเป็นไอดอลที่มีคอนเซป "ไอดอลที่จะไปพบคุณ" และมีโตโยต้า เป็นสปอนเซอร์หลัก

ลักษณะการ Mix ของทีม 8 จะใช้พื้นฐานมาจาก chika idol หรือ local idol มากกว่า โดยหลักๆ บทที่จะใช้จะมีดังนี้

-2.7.1 ガチ恋口上 หรือ gachi koi

Iitai koto ga arundayo
Yappari OO wa kawaiiyo
Sukisuki daisuki yappa suki
Yatto mitsuketa ohimesama
Ore ga umaretekita riyuu
Sore wa OO ni deautame
Ore to isshoni jinsei ayumou
Sekaide ichiban aishiteru
AISHITERU!


OO = Member Name
言いたいことがあるんだよ
やっぱりOOはかわいいよ
すきすき大好き、やっぱ好き
やっと見つけたお姫様
俺が生まれてきた理由
それはお前に出会うため
俺と一緒に人生歩もう
世界で一番愛してる
ア・イ・シ・テ・ル

OO = Member Name
มิกซ์นี้่ก็เป็นอีกมิกซ์ที่มักใช้ในท่อนจบของหลายๆเพลง ที่มักจะมีช่องว่างเมโลดี้ยาวๆ ก่อนจะจบ สำหรับ มิกซ์นี้ ของทีม 8 นั้นจะนิยมใช้่ในเพลง 47 suteki na machi e ทั้งส่วนต้นเพลง และท้ายเพลง

สำหรับในส่วนต้นเพลง จะ mix ตั้งแต่ต้น จนถึงแค่ yappa suki แล้วหลังจากนั้นจึงจะไปต่อที่ mix standard ตามปกติ และเพิ่มเติมคือ จะนิยมเปลี่ยนจาก yossha ikuzo เป็น jya jya แทน

สำหรับในส่วนท้ายเพลง ก็จะ mix gachi koi ตั้งแต่ต้นจนจบ

โดยที่ตรงที่เว้น OO ไว้คือให้ใส่ชื่อน้องๆ เช่น ยุยยุย อิคุมิ นารุจัง เป็นต้น


สามารถดูตัวอย่างการใช้ได้จากตัวอย่างเพลง 47 suteki na machi e โดยตอนต้นเริ่มที่ 0.40  และช่วงท้ายตอน 2.55


 2.8 อื่นๆ เกี่ยวกับ Mix

ในบางเพลง เช่น Heavy rotation เราจะไม่ Mix ในท่อนแรกของเพลงเพราะยังมีเนื้อร้องอยู่ แต่เราจะไป Mix ทีหลัง หลังจากที่เป็นท่อนดนตรี (หลังจบคำว่า เฮวี่อี่ โรเตช่อน ~)

ใช้ Mix 1 นะครับตอนต้นเพลง ลองตะโกนตามกันดู

แต่ก็มีอยู่สองเพลง ที่เราจะ Mix ระหว่างที่น้องๆ48 กำลังร้องเนื้อเพลงอยู่ คือ
Dear my teacher นาทีที่ 1.10

Suifu wa Arashi ni Yume wo Miru นาทีที่ 1:10

ในทั้งสองเพลงเป็นการ ตะโกนในช่วงก่อนขึ้น chorus และตัด "อ้า ย้ดช่า อิคุโซ่" ออกนะครับ และถึงตอนนี้ก็ยังมีแค่สองเพลงนี้ ที่เป็นการตะโกนในลักษณะนี้อยู่ (เท่าที่เห็นนะครับ :3)

3.0 การเชียร์ (Cheers)

นอกเหนือจากการ Mix ก็ยังมีการเชียร์ในรูปแบบอื่นๆด้วย ดังนี้

3.1 Oooo-ing

ไม่มีคำอธิบายใดจะเข้าใจไปได้ง่ายกว่าตัวอย่างครับ มาดูตัวอย่างกัน
3.1.1 Hai! Hai! Hai!-Hai!-Hai!-Hai! นาทีที่ 1.01 ของวิดิโอครับ แล้วตามด้วย
3.1.2 oooOOO HAI! นาทีที่ 1.05 ของวิดิโอ

ดูตัวอย่างของทั้งสองแบบได้จากเพลง ponytail to chuchu

การ Cheer ประเภทนี้มีต้นกำเนิดมาจาก PPPH (ย่อมาจาก Pan Pa-Pan Hyuu!) แต่คือแทนที่จะปรบมือก็เปลี่ยนเป็นการตะโกน "ooooo" (มีการไล่เสียง) ตามด้วย "HAI!" คงจะเป็นเพราะการดูคอนเสิร์ตในโรงละครเป็นแบบนั่ง และมีพื้นที่จำกัดทำให้เป็นการยากที่จะกระโดดหรือปรบมือด้วยท่าต่างๆนั่นเอง

3.2 OGS! (オージーエス!)

ในตอนเริ่มต้นของบางเพลง หลังจากเสียง beat ของกลอง จะตะโกนว่า "OGS!"
หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นคำว่า "Fourty Eight"
มีคนให้คำอธิบายเกี่ยวกับคำว่า OGS คืออะไร ที่นี้ครับ
http://forum.nihongogo.com/topic/12886-who-is-ogs/#entry203946

เพลงที่จะตะโกนว่า "OGS!" มีดังต่อไปนี้:

10nen zakura

Seifuku ga Jama wo Suru

และสุดท้าย Team B Oshi


กรุณาตะโกนว่า "OGS" ไม่ใช่ "Fourty Eight" ครับ

3.3 การ Call แบบอื่นๆ

มีบางเพลงมีการเชียร์แบบพิเศษ และก็มีหลายเพลงมากๆเอาซะด้วย จะขอยกตัวอย่างเพลงที่เป็นที่นิยมกันมากๆหละกันนะครับ ตัวอย่างเช่น

Kimi no Koto ga Suki Dakara: ตะโกนว่า "da-i-su-ki" และ "yo-ro-shi-ku" ในจังหวะเดียวกันกับเนื้อเพลง

Skirt Hirari: ตะโกนว่า "sekai de ichiban suki na no" จังหวะเดียวกันกับเนื้อเพลง

Oogoe Diamond: ตะโกนว่า "SUKI!!" ไปพร้อมกับน้องๆ ในท่อน (sukitte kotoba wa saikou sa).

Heavy Rotation: ตะโกนว่า "I want you, I need you, I love you" etc. ตามหลังน้องๆ

Namida Surprise: ตะโกนว่า "Omedetou" ไปพร้อมกับน้องๆ ตามเนื้อเพลง

Dareka no Tame ni: ตะโกนว่า "Dareka no tame ni" และ "wow wow wow wow wow wow"

RIVER: ตะโกนว่า "Fourty Eight!", "Got it!!", "RIVER!!" and "Ho! Ho! Ho! Ho!"  ไปพร้อมๆกับน้องๆตามเนื้อเพลง

ดูตัวอย่างเพลง River ได้จากคลิปนี้ครับ

4.0 การเรียกชื่อ (Name Calls)

ในเพลงแต่ละท่อน มันจะมีช่องว่างของดนตรีของแต่ละท่อนอยู่ ในจังหวะนั้นเราจะตะโกนชื่อเล่นของเมมเบอร์คนที่กำลังร้องท่อนนั้นอยู่ ถ้ากรณีที่มีการร้องหลายคนในท่อนนั้น ก็แล้วแต่เราเลยครับว่าจะตะโกนชื่อใคร (ก็คงไม่พ้นโอชิตัวเอง)

ชื่อในการ Call นั้นจะถูกกำหนดว่าไม่ควรเกิน 3 พยางค์ (บางคนก็ใช้ 2 พยางค์ แต่จะไม่มีชื่อเล่นพยางค์เดียวครับ) เพราะมันจะไม่ลงล็อคกับจังหวะดนตรีครับ ฉะนั้นระบบชื่อเล่นของน้องๆแต่ละคน ก็เกิดมาเพื่อสิ่งนี้หละครับ โดยปกติแล้วในเวปอย่างเป็นทางการ หรือแม้แต่ในแฟนคลับกันเองก็จะพอรู้ชื่อเล่นของสมาชิกคนนั้นอยู่บ้างแล้ว เช่น 3 พยางค์อย่าง ทาคามินะ เราจะ Call ว่า มิ-นา-มิ วาตานาเบะ เราจะ Call ว่า มา-ยู-ยุ ส่วน 2 พยางค์เช่น มิเนกิชิ Call ว่า มี่-จัง มาเอดะ Call ว่า อัต-จัง เป็นต้น

4.1 Chozetsu Kawaii (超絶かわいい)

แปลว่า "น่ารักจริงๆ น่ารักสุดๆ น่ารักๆ(โคดๆ)" อะไรประมาณนั้นหละครับ จะใช้ในจังหวะที่เป็นท่อนดนตรีท่อนที่สองของวรรคเพลง ตัวอย่างเช่นจากวิดิโอข้างล่าง ที่ 0.18 จะเป็นการ Call ครั้งแรกว่า "มา-ยู-ยู" หลังจากนั้น 0.22 จะ Call ครั้งที่สอง Chozetsu Kawaii จะถูกใช้ตรงนี้หละครับ แล้วตามด้วยชื่อเมมเบอร์เหมือนเดิม
ในบางเพลง ท่อนที่สาม อาจจะสามารถ Call ได้หรือไม่ได้ก็ได้ อย่างตัวอย่างในคลิป ที่ 0.30 จะเห็นว่าเป็นเนื้อแบบที่ไม่เว้น จึงไม่ต้อง Call แบบปกติ แต่ไป Call Chozetsu Kawaii ตอน 0.36 แทน


4.2 Ore-no OOO

ใช้ในท่อนเดียวกันกับ 4.1 เลยแต่เปลี่ยนจาก chozetsu เป็น Oreno แต่เท่าที่เห็นมักจะใช้กับ Team 8 มากกว่า

5.0 ท่าทาง

ส่วนใหญ่จะเป็นท่าทางของมือ เนื่องจากเหตุผลเดิมๆนั้นหละครับ แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่

5.1 Kecha  (ケチャ)

จะใช้ในช่วงของเพลงช้า หรือ ในจังหวะที่เป็นพาทที่ช้าที่สุดของเพลงเร็ว (เพลงเร็วส่วนมากของ AKB มักจะมีพาทที่ช้าก่อนที่จะขึ้น chorus สุดท้าย) มาชมตัวอย่างจากคลิปเพลง ponytail to shushu ด้านล่างครับนาทีที่ 3.21




วิธีการคือ
1.เปิดมือทั้งสองข้าง และยื่นแขนทั้งสองข้างไปทางด้านหน้าหาน้องๆที่กำลังร้องเพลงอยู่ หากถือแท่งไฟอยู่ก็ไม่ต้องเปิดมือออกไปนะจ๊ะ ยื่นแท่งไฟไปเลย
2.ค่อยๆยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาช้าๆ
3.ดึงแขนกลับมาหาตัวเอา
4.ทำซ้ำ 1-3 อีกครั้ง

ดูวิดิโอสาธิตอีกรอบ เพื่อความเข้าใจครับ นาทีที่ 3.09

5.2 Furicopy (振りコピ)

furicopy ว่ากันง่ายๆก็คือ ทำท่า หรือทำมือ ตามน้องๆที่กำลังร้องเพลงอยู่นั้นหละครับ
มาดูตัวอย่างกันนะครับ อย่างเช่นเพลง Aitakatta ในท่อน "Aitakatta, aitakatta, aitakatta, YES! Kimi ni~" และท่อน "LaLaLaLaLa"


หรือมาดูอีกตัวอย่างนึงครับ


เอาหละครับหลักง่ายๆ เบื้องต้นก็หมดเท่านี้ ลองไปหัดกันดูนะครับ จะได้เพิ่มความสนุกเวลาดูคอนเสิร์ตน้องๆได้อีกเยอะเลยหละ

แล้วพบกันใหม่ entry หน้าฮะ

จ๊ะ มัตตะเนะ!

หนึ่งคุง

ขอบคุณ source และข้อมูลจาก  : http://melosnomichi.blogspot.com/2012/01/wotagei-guide-for-akb48-concerts-20.html